วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิธีศึกษา พิมพ์พระ ว่าพระพิมพ์เดียวกันทำไม ธรรมชาติภายในองค์พระ ถึงแตกต่างกัน


***...ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรมากมายครับ  สำหรับคนที่พอมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับ  ธรรมชาติในองค์พระคืออะไร...***

ก็อย่างที่ว่านั่นแหละครับ  ปกติการสร้างพระเครื่องในแต่ละยุค  แต่ละสมัย  อย่างแรกที่สำคัญก็จะหนีไม่พ้นเรื่องของพิมพ์พระอีกนั่นแหละ  ไม่ว่าจะสร้างพระประเภทไหนๆก็ต้องใช้แม่พิมพ์เป็นตัวกำหนดรูป  ลักษณะขององค์พระนั้นๆ  ตามที่ต้องการให้พระเครื่องเป็นไปตามความต้องการ  ผมจะลงภาพ  พระกรุเดียวกันและพิมพ์เดียวกันให้ศึกษากันดูนะว่า  มีอะไรที่แตกต่างกันบ้างและแตกต่างกันอย่างไร  Oh!. เกือบลืมบอก วิธีดูผิวของนํ้ายาเคลือบ เวลาแทยงพระ กระทบกับแสงแดดทุกครั้ง จะต้องมองเห็นประกายรุ้งทุกครั้งเสมอไป 

องค์แรก  พระขุนแผนเคลือบกรุวัดบ้านกลิ้ง  พิมพ์ฐานสูง



องค์สอง  พระขุนแผนเคลือบกรุวัดบ้านกลิ้ง  พิมพ์ฐานสูง


องค์สาม  พระขุนแผนเคลือบกรุวัดบ้านกลิ้ง  พิมพ์ฐานสูง




องค์สี่  พระขุนแผนเคลือบกรุวัดบ้านกลิ้ง  พิมพ์ฐานสูง


องค์ห้า  พระขุนแผนเคลือบกรุวัดบ้านกลิ้ง  พิมพ์ฐานสูง





ที่ผมได้นำภาพพระแท้ๆ สวยๆ เหล่านี้มาลงโชว์ในบล็อก เพื่อเป็น  วิทยาทาน  แก่การศึกษานะครับ  เพราะเผื่อไปเจอที่อื่นจะเข้าใจผิดว่าเป็นพระกรุนั้น  กรุนี้อีก  ให้สังเกตุดูการเคลือบ  ว่ามีความเงาวาว  นี่แหละคือ องค์ที่เคลือบนํ้ายาได้สวยสมบูรณ์แบบ

บางองค์ ก็ดูเก่ามากๆก็มี  เพราะการเคลือบนํ้ายาไม่สมบูรณ์  แต่คนส่วนมากก็มักจะเลือกเอาองค์เก่าๆ เพราะความชอบไม่เหมือนกัน  แต่โดยส่วนตัวผมเอง  ผมจะชอบเลือกเอาแบบมันวาวใสๆแบบนี้ครับ   เพราะเงินเราแท้  เราต้องเช่าองค์สวยๆ  ถ้าเกิดเช่าองค์ไม่สวยมา  ก็อาจเกิดเสียดายภายหลังก็ได้  เพราะผมเช่าไว้เพื่อบูชาและเอาไว้ส่องดูยามว่าง  เพื่อให้อารมย์ปรอดโปร่งครับ

ส่วนองค์ที่ห้า  ผมเลี่ยมกรอบใช้เองครับ  ประสบการณ์ดีมาก  ก็เลยนิมนต์ท่านติดตัวมาที่ต่างประเทศด้วย  

ชมภาพด้านหลังบางส่วนกันดีกว่าครับ

  
นึกภาพดูด้านหลังของพระขุนแผนเคลือบ  องค์นี้ทีไร ลักษณะเหมือนโลกพระจันทร์ซะงั้น [ความรู้สึกส่วนตัว] บางครั้ง ก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับธรรมชาติในองค์พระ คือ ธรรมชาติมันสร้างสรรค์ด้วยตัวของมันเอง โดยที่บางครั้ง  มนุษย์ก็คาดคิดไม่ถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น